ขั้นตอนการชุบ Hot-Dip Galvanized
การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน หรือ ฮอทดิพ (Hot-Dip Galvanized) เป็นการป้องกันผิวของเหล็กไม่ให้เกิดออกไซด์ขึ้น หรือสนิม กับความชื้น ในอากาศ ส่งผลให้อายุการใช้งานของเหล็กนานขึ้น เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับความชื้น หรือการกัดกัดกร่อนของอากาศ เช่น งานโครงสร้างสำหรับติดตั้งนอกอาคาร (Outdoor) เป็นต้น
กระบวนการชุบ Hot-Dip Galvanized นั้นมีกระบวนการดังนี้
1.การเตรียมงานเหล็ก
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะหากศึกษาหรือวางแผนงานเหล็กไม่ดีพอ อาจจะทำให้ไม่สามารถชุบ Hot-Dip Galvanized ได้ เช่น ชิ้นงานเมื่อทำเสร็จแล้วมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะลงชุบในบ่อชุบได้หรือหากชุบได้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีกหากไม่ระวัง เช่นการมีสีติดชิ้นงานทำให้ต้องเสียค่าเผาสีเพิ่มจากค่าชุบกัลวาไนซ์ เป็นต้น
2.การทำความสะอาดผิว
การทำความสะอาดผิว (Surface Cleaning) ก่อนทำการชุบสังกะสี สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชิ้นงาน
1. การล้างด้วยน้ำเพื่อขจัดเศษฝุ่น (Rinsing) หรือผงต่างๆ ออกจากชิ้นงาน ใช้สำหรับชิ้นงานธรรมดาที่ไม่ต้องเตรียมผิวพิเศษใดๆ
2. การพ่นทราย (Blast) สำหรับชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดของผิวชุบ หรือกรณี Re-galvanize ทั้งนี้การพ่นทรายจะทำให้ผิวของชิ้นงานละเอียด และเมื่อชุบแล้วจะให้ผิวชุบที่ดี ทั้งนี้ในบางครั้งการพ่นทรายสามารถแก้ปัญหาชิ้นงานที่มีปัญหาเรื่องผิวได้ เช่น ชิ้นงานมีสนิมเกรอะกรัง หรือมีสีติดมา
3. การเผาผิวของชิ้นงาน (Burn) สำหรับชิ้นงานที่มีสีติดมาต้องขจัดออกโดยการเผาสีด้วยความร้อน เนื่องจากไม่มีกระบวนล้างใดๆที่สามารถเอาสีออกได้ (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการ ชุบกัลวาไนซ์)
4. การล้างด้วยกรด (Pickling) ในกรณีที่ชิ้นงานมีการชุบ Galvanized หรือ Zinc มาก่อนแล้ว จะทำให้ไม่สามารถชุบงานได้ ทั้งนี้จะต้องมีการล้าง Galvanized หรือ Zinc ออกจากผิวของชิ้นงานก่อนจึงจะสามารถดำเนินการตามขั้นตอนการชุบขั้นตอนต่อไปได้
3. การล้างด้วยกรดรุนแรง (Pickling)
เมื่อเตรียมผิวชิ้นงานให้สามารถชุบได้แล้ว จะต้องนำชิ้นงานมาล้างด้วยกรดเข้มข้นอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อการกัดสนิมขนาดเล็กที่เกาะตามผิวของชิ้นงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานขั้นต่ำ 3 ชม. ในกรณีที่ผิวของชิ้นงานมีปัญหา อาจต้องล้างด้วยกรดเป็นระยะเวลา 24 – 48 ชม.หรือนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพชิ้นงาน(อาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากชิ้นงานมีสภาพผิวที่ไม่ปกติ) หรือต้องนำไปเตรียมผิวใหม่อีกครั้ง
4.การชุบน้ำยาประสาน (Fluxing)
เมื่อล้างด้วยน้ำกรดเสร็จแล้ว จะต้องนำชิ้นงานมาชุบน้ำยาประสาน (Flux) ทั้งนี้เพื่อให้ชิ้นงานยึดติดกัลวาไนซ์ได้ดี
5.การชุบ Hot-Dip Galvanized
หลังจากชุบด้วยน้ำยาประสานเสร็จแล้ว จะต้องชุบกัลวาไนซ์แบบจุ่มร้อน (Hot-Dip Galvanized) ทันที ในขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดอุณหภูมิประมาณ 430-460 องศาเซลเซียสโดยการชุบกัลวาไนซ์ แบ่งกรรมวิธีหลังการชุบได้ดังนี้
-การเขย่า หรือเหวี่ยงทันที ใช้สำหรับงานพวกน็อต สกรู หรืองานขนาดเล็ก
- การชุบแบบธรรมดาโดยไม่ต้องเขย่าใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ทั่วไป
6.การตกแต่งผิวงาน( Finishing)
เพื่อให้สภาพผิวมีความสวยงามอาจมีการขัดด้วยตะไบหรือเจียร์ออกหาพบการย้อยหรือมีสังกะสีที่หนาเกินไป
7.การครวจสอบความหนาก่อนส่งมอบงาน(Inspection and Assurance)
จะต้องสุ่มตรวจความหนาของสังกะสีด้วยเครื่องตรวจสอบความหนาพร้อมการตรวจสภาพผิวก่อนส่งมอบเพื่อเป็นการยืนยันได้ว่าตรงตามความต้องการของลูกค้า
การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญา ห้ามคัดลอก ทำสำเนา ดัดแปลง และเผยแพร่ เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาต