การเกิดสนิมขาว (White rust หรือ white storage stain)ในการชุบ Hot-Dip Galvanized
เมื่อทำการชุบ Hot-Dipped Galvanized สังกะสีที่เคลือบชิ้นงานจะทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสนิม (Fe2O2H2O)
และป้องกันการกัดกร่อนได้ ซึ่งสังกะสีจะฟอร์มตัวเป็นออกไซด์ (O2) โดยเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)จะทำให้ออกไซด์ที่เกิดจากสังกะสีมีการฟอร์มตัวที่เสถียรขึ้นโดยอยู่ในรูปของ Zn(CO2)2แต่ต้องใช้เวลาพอสมควรอย่างน้อย 48 ชม.
การเกิดสนิมขาว (White Rust หรือ White Storage Stain)
การก่อเกิดสนิมขาว
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อโลหะที่ถูกชุบด้วยสังกะสี (Hot-Dipped Galvanized) สัมผัสกับน้ำบริสุทธิ์ หรือละอองน้ำ ทำให้สังกะสีที่ยังไม่ทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดปฏิกิริยากับน้ำ เป็นรูปแบบสังกะสีไฮดรอกไซด์ ซึ่งไม่เสถียร (ไม่คงรูป) มีลักษณะเป็นออกไซด์สีขาว หรือรอยด่างสีขาว ด้วยเหตุนี้จึงต้องใช้โครเมตมาทำการเคลือบผิวระหว่างที่มีการชุบกัลวาไนซ์ใหม่ๆ เพื่อรอให้สังกะสีฟอร์มรูป Oxide กับคาร์บอนไดออกไซด์สมบูรณ์ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดไฮดรอกไซด์ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
การเลี่ยงการเกิดสนิมขาว
การแก้ปัญหาชิ้นงานชุบกัลวาไนซ์ที่เกิดสนิมขาว
เมื่อเกิดสนิมขาว หรือสังกะสีไฮดรอกไซด์ ต้องมีการขจัดออกไปเนื่องจาก
การแบ่งระดับปัญหาของสนิมขาว
การแบ่งระดับการเกิดปัญหาของสนิมขาว สามารถแบ่งตามความรุนแรงของการเกิดสนิมขาวได้ดังนี้
มักเกิดขึ้นสำหรับงานที่ชุบ Hot-Dip Galvanizedใหม่ๆแล้วโดนละอองฝนทำให้เกิดสนิมขาวเล็กน้อย ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโดยการขัดผิวชิ้นงาน ทำให้สนิมขาวหลุดออกจากชิ้นงานได้ หลังจากนั้นทำให้แห้ง และเก็บไว้ในที่แห้ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
การเกิดปัญหาระดับนี้เป็นการเกิดปัญหาที่สามารถมองเห็นสนิมขาวได้เด่นชัด รอยสนิมขาวมีรอยใหญ่และคล้ำขึ้นมีผลต่อความหนาชิ้นงานอาจทำให้ความหนาของสังกะสีถูกทำลายไปแต่ไม่เกิน 5 % ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้โดยการขัดผิวด้วยแปรงลวดบริเวณที่เป็นสนิมขาวให้หมดแล้วเช็ดด้วยผ้าที่ชุบด้วยสีอลูมิเนียม
การเกิดสนิมขาวระดับนี้จะมีลักษณะรุนแรงเป็นสีเกือบดำ และแสดงอาการเกิดสนิมแดง ควรมีการตรวจสอบความหนาของสังกะสี การแก้ไขสามารถทำได้ดังนี้
- ขัดผิวโดยใช้แปรงลวด แปรงบริเวณที่เป็นสนิมขาวให้หมด
- ป้ายสี Epoxy Zinc Rich ให้เป็นฟิล์มบางๆ ที่มีความหนาอย่างน้อย 100 ไมครอน
หากการเกิดสนิมขาวมีการเกิดขึ้นและยังคงแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง การ Re-passivate หรือการ Passivate อีกครั้งจึงเป็นทางเลือกที่ดี โดยการขัดผิวบริเวณที่เกิดสนิมขาวแล้วล้างด้วยสารละลาย 5% Sodium Dichromate, 0.12 Sulphuric acid
ข้อสรุป
การเกิดสนิมขาวเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดหลังชุบสังกะสี ซึ่งเป็นผลจากการจัดการ และจัดเก็บ ผลิตภัณฑ์ การเกิดสนิมขาวไม่ได้เกิดจากกระบวนการชุบกัลวาไนซ์ แต่เกิดขึ้นในช่วงหลังการชุบจนถึงการส่งมอบให้ลูกค้า ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องมีการดูแล จัดการและทำให้เกิดผลกระทบจากสนิมขาวให้น้อยที่สุด ปัจจุบันสามารถป้องกันเบื้องต้นโดยการใช้Chromateเคลือบผิว Hot-dip Galvanized
การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญา ห้ามคัดลอก ทำสำเนา ดัดแปลง และเผยแพร่ เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาต