แนวโน้มงานชุบกัลวาไนซ์

เนื่องจากสภาวะแวดล้อมปัจจุบันสภาพอากาศเป็นมลพิษ  ซ้ำยังมีฝนกรด  ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง  ดังนั้น เหล็กโครงสร้างที่ต้องใช้ในงานภายนอกอาคาร  หรืองาน Outdoor สมควรอย่างยิ่งที่จะมีวิธีการในการป้องกันสนิม  ทั้งนี้เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กดังกล่าว ซึ่งวิธีการที่ประหยัดและคุ้มค่ากับผลที่ได้ในการป้องกันสนิมดังกล่าวนั้น  คือ  การชุบ Hot-Dip Galvanized จึงส่งผลให้มีผู้นิยมใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญา ห้ามคัดลอก ทำสำเนา ดัดแปลง และเผยแพร่  เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาต

ขั้นตอนการชุบกัลวาไนซ์

ขั้นตอนการชุบ Hot-Dip Galvanized

 

การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน หรือ  ฮอทดิพ (Hot-Dip Galvanized)  เป็นการป้องกันผิวของเหล็กไม่ให้เกิดออกไซด์ขึ้น  หรือสนิม  กับความชื้น  ในอากาศ  ส่งผลให้อายุการใช้งานของเหล็กนานขึ้น  เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับความชื้น  หรือการกัดกัดกร่อนของอากาศ  เช่น งานโครงสร้างสำหรับติดตั้งนอกอาคาร (Outdoor) เป็นต้น

กระบวนการชุบ Hot-Dip Galvanized นั้นมีกระบวนการดังนี้

1.การเตรียมงานเหล็ก

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง  ทั้งนี้เพราะหากศึกษาหรือวางแผนงานเหล็กไม่ดีพอ  อาจจะทำให้ไม่สามารถชุบ Hot-Dip Galvanized ได้ เช่น ชิ้นงานเมื่อทำเสร็จแล้วมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะลงชุบในบ่อชุบได้หรือหากชุบได้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีกหากไม่ระวัง เช่นการมีสีติดชิ้นงานทำให้ต้องเสียค่าเผาสีเพิ่มจากค่าชุบกัลวาไนซ์  เป็นต้น 

2.การทำความสะอาดผิว

การทำความสะอาดผิว (Surface Cleaning) ก่อนทำการชุบสังกะสี  สามารถทำได้หลายวิธี  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชิ้นงาน

1.  การล้างด้วยน้ำเพื่อขจัดเศษฝุ่น (Rinsing) หรือผงต่างๆ  ออกจากชิ้นงาน  ใช้สำหรับชิ้นงานธรรมดาที่ไม่ต้องเตรียมผิวพิเศษใดๆ

2.  การพ่นทราย  (Blast) สำหรับชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดของผิวชุบ หรือกรณี Re-galvanize ทั้งนี้การพ่นทรายจะทำให้ผิวของชิ้นงานละเอียด  และเมื่อชุบแล้วจะให้ผิวชุบที่ดี               ทั้งนี้ในบางครั้งการพ่นทรายสามารถแก้ปัญหาชิ้นงานที่มีปัญหาเรื่องผิวได้  เช่น  ชิ้นงานมีสนิมเกรอะกรัง หรือมีสีติดมา

3.  การเผาผิวของชิ้นงาน (Burn) สำหรับชิ้นงานที่มีสีติดมาต้องขจัดออกโดยการเผาสีด้วยความร้อน เนื่องจากไม่มีกระบวนล้างใดๆที่สามารถเอาสีออกได้ (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการ              ชุบกัลวาไนซ์)

4. การล้างด้วยกรด (Pickling) ในกรณีที่ชิ้นงานมีการชุบ Galvanized  หรือ Zinc มาก่อนแล้ว  จะทำให้ไม่สามารถชุบงานได้  ทั้งนี้จะต้องมีการล้าง Galvanized หรือ Zinc ออกจากผิวของชิ้นงานก่อนจึงจะสามารถดำเนินการตามขั้นตอนการชุบขั้นตอนต่อไปได้

3. การล้างด้วยกรดรุนแรง (Pickling)

เมื่อเตรียมผิวชิ้นงานให้สามารถชุบได้แล้ว  จะต้องนำชิ้นงานมาล้างด้วยกรดเข้มข้นอีกครั้ง  ทั้งนี้เพื่อการกัดสนิมขนาดเล็กที่เกาะตามผิวของชิ้นงาน  ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานขั้นต่ำ  3 ชม.  ในกรณีที่ผิวของชิ้นงานมีปัญหา  อาจต้องล้างด้วยกรดเป็นระยะเวลา  24 48 ชม.หรือนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพชิ้นงาน(อาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากชิ้นงานมีสภาพผิวที่ไม่ปกติ)  หรือต้องนำไปเตรียมผิวใหม่อีกครั้ง

4.การชุบน้ำยาประสาน (Fluxing)

เมื่อล้างด้วยน้ำกรดเสร็จแล้ว  จะต้องนำชิ้นงานมาชุบน้ำยาประสาน (Flux)  ทั้งนี้เพื่อให้ชิ้นงานยึดติดกัลวาไนซ์ได้ดี 

5.การชุบ Hot-Dip Galvanized

หลังจากชุบด้วยน้ำยาประสานเสร็จแล้ว  จะต้องชุบกัลวาไนซ์แบบจุ่มร้อน (Hot-Dip Galvanized) ทันที  ในขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดอุณหภูมิประมาณ 430-460 องศาเซลเซียสโดยการชุบกัลวาไนซ์ แบ่งกรรมวิธีหลังการชุบได้ดังนี้

-การเขย่า หรือเหวี่ยงทันที ใช้สำหรับงานพวกน็อต สกรู หรืองานขนาดเล็ก

- การชุบแบบธรรมดาโดยไม่ต้องเขย่าใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ทั่วไป

6.การตกแต่งผิวงาน( Finishing)

เพื่อให้สภาพผิวมีความสวยงามอาจมีการขัดด้วยตะไบหรือเจียร์ออกหาพบการย้อยหรือมีสังกะสีที่หนาเกินไป

7.การครวจสอบความหนาก่อนส่งมอบงาน(Inspection and Assurance)

จะต้องสุ่มตรวจความหนาของสังกะสีด้วยเครื่องตรวจสอบความหนาพร้อมการตรวจสภาพผิวก่อนส่งมอบเพื่อเป็นการยืนยันได้ว่าตรงตามความต้องการของลูกค้า

 

การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญา ห้ามคัดลอก ทำสำเนา ดัดแปลง และเผยแพร่  เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาต

 

 

ความแตกต่างระหว่างเหล็กชุบกัลวาไนซ์ กับเหล็กชุบสังกะสี

ความแตกต่างระหว่างเหล็กชุบกัลวาไนซ์กับเหล็กชุบสังกะสี(Hot-dipped Galvanized vs electro plated galvanized)

ความจริงแล้วเหล็กชุบกัลวาไนซ์คือชุบฮอตดิบกัลวาไนซ์ หรือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (
Hot-dipped Galvanized) แต่คนทั่วไปมักเรียกว่าเหล็กชุบกัลวาไนซ์หรือกาวาไนซ์  มีความหนาประมาณ 65 300 ไมครอน(ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าและเงื่อนไขอื่นๆจากการจุ่มร้อน) วิธีนี้มักใช้กับงานที่ต้องการการปกป้องจากการเกิดสนิมในสภาพกลางแจ้ง(Outdoor) มีการสลายตัวประมาณปีละ 1 ไมครอน(ฉะนั้นอายุงานเกิน 20 ปี)

ส่วนการชุบสังกะสีหรือชุบซิ้งค์คนไทยมักจะหมายถึงการชุบอิเลกโคตรเพลทติ้ง หรือการชุบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีความหนาประมาณ 5- 10 ไมครอน เหมาะสำหรับงานที่ไม่เน้นการป้องการเกิดสนิมมากนักหรือสภาวะไม่รุนแรงให้เกิดสนิมได้ง่ายหรืออยู่ในร่ม(Indoor) หากอยู่สภาพกลางแจ้ง(Outdoor)จะเป็นสนิมได้ง่าย

การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญา ห้ามคัดลอก ทำสำเนา ดัดแปลง และเผยแพร่  เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาต

 

ข้อระวังสำหรับงานชุบกัลวาไนซ์

ข้อควรระวังสำหรับงานชุบกัลวาไนซ์

โดยทั่วไปงานเหล็กจะเป็นงานที่ออกแบบและทำการเชื่อม ตกแต่งผิวก่อนชุบกัลวาไนซ์ (Hot-dipped Galvanized ) โดยงานทั่วไปแบ่งได้ตามประเภทโครงสร้างดังนี้

1 ) งานที่เป็นโครงสร้าง ขนาดใหญ่ มีส่วนประกอบจากการดัดท่อใช้ท่อเป็นหลัก เชื่อมประกอบขนาดใหญ่

2 )งานที่ไม่มีท่อเป็นองค์ประกอบแต่ใช้เหล็กรูปพรรณอื่นๆ

3)  งานที่ใช้ทั้งท่อและเหล็กรูปพรรณประกอบกัน

4)   งานเหล็กหล่อ

5)   งานจำพวก สกรู น็อต  งานขนาดเล็ก

 

งานทุกประเภทต้องมีการตกแต่งผิวให้ดีก่อนนำมาชุบกัลวาไนซ์ หากติดสีมาต้องมีการเผาสีหรือขจัดออกก่อนล้างผิวสำหรับเตรียมชุบกัลวาไนซ์  กรณีที่นำงานมาRe-galvanize หรือล้างกัลวาไนซ์เดิมออก จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากผู้ที่ต้องการชุบต้องการลดค่าใช้จ่ายจากกรณีที่กล่าวมาอาจจะนำไปยิงทรายเพื่อให้สีหรือกัลวาไนซ์เดิมออกก่อนจะประหยัดกว่างานที่มี Pipe หรือท่อเป็นองค์ประกอบต้องมีการเจาะรูเพื่อให้น้ำกัลวาไนซ์ไหลเข้าออกได้ และป้องกันการแตก ระเบิดของชิ้นงานส่งผลให้งานเสียหายและเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

กรณีที่ลูกค้ามีการเชื่อมเหล็กต้องระวังเรื่องตามดและขี้Slag ที่ชิ้นงานจะทำให้ชุบกัลวาไนซ์ไม่ติด ในส่วนของตามดมีผลให้ชิ้นงานมีคราบสนิมออกมาจากรูตามดได้หากรูมีขนาดใหญ่และลึก เนื่องจากกัลวาไนซ์ไม่สามารถเข้าไปในรูได้ สนิมจึงเกิดตามมาหลังการชุบภายใน 1 สับดาห์งานจำพวกน็อต สกรู ต้องมีค่าเผื่อ เพราะหลังการชุบกัลป์วาไนซ์ผิวงานจะหนาขึ้น หากไม่มีการเผื่อค่า น็อตตัวเมียจะขันไม่เข้าต้องตรวจสอบขนาดบ่อชุบกับชิ้นงานที่จะชุบหากลงบ่อชุบภายใน 1 ครั้งไม่ได้ จำเป็นจะต้องชุบ 2 ครั้งส่งผลให้ราคาจะสูงขึ้นมาก

การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญา ห้ามคัดลอก ทำสำเนา ดัดแปลง และเผยแพร่  เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาต 

 

ข้อดีของเหล็กชุบกัลวาไนซ์

ข้อดีของเหล็กชุบกัลวาไนซ์ (Hot-Dip Galvanized)

 

ปัจจุบันการป้องกันสนิมสามารถทำได้ 3 วิธีใหญ่ๆ  ดังนี้

1. การเคลือบผิว

- การพ่นโฟมกันสนิม

- การ  ทาสี/พ่นสี  กันสนิม

- การชุบซิ้ง (Electro Plated Galvanized)

- การชุบ Hot-Dip Galvanized

- การชุบโลหะอื่นๆ  เช่น ดีบุก

2. การทำเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel)

การทำเหล็กกล้าไร้สนิม  สามารถทำได้โดยการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆเข้าไป  ทำให้เกิดเป็นฟิล์มบางๆ  บนผิวเหล็ก  เช่น  นิเกิล (Ni) โครเมียม (Cr)  ทั้งนี้  แผ่นฟิล์มที่เคลือบเหล็กจะช่วยป้องกันเหล็กสัมผัสกับบรรยากาศโดยตรง

 

3. การใช้กระแสไฟฟ้า

ทำได้โดยการทำให้เหล็กมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าบริเวณโดยรอบ  ทำให้เหล็กนั้นไม่สูญเสียอิเลกตรอน  ให้กับบรรยากาศซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสนิม  วิธีการนี้สามารถทำได้ในทุกสภาวะแวดล้อม  แต่มีค่าใช้จ่ายสูง  เหมาะกับโครงการที่เสี่ยงต่อการเกิดสนิมอย่างรุนแรง  เช่น  ท่อเดินน้ำมันในทะเล  เป็นต้น

 

สรุป

การป้องกันสนิมที่นิยมใช้กันในงานอุตสาหกรรม  คือ  การเคลือบผิวเนื่องจากมีราคาถูกกว่า สะดวกกว่า  โดยการชุบ Hot-Dip Galvanized เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพง อายุการใช้งานนานกว่าทุกชนิดของการเคลือบผิว และเป็นที่ยอมรับในงานอุตสาหกรรม  ส่งผลให้มีแนวโน้มการใช้งานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญา ห้ามคัดลอก ทำสำเนา ดัดแปลง และเผยแพร่  เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาต